วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปวิจัย

การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย
ปริญญานิพนธ์
ของ  มยุรี  ศรีทอง

มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ


จุดมุ่งหมาย  เพื่อเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังในการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย

คำศัพท์  เด็กนักวิจัย แปลว่า เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ เรียนรู้เรื่องที่ตนเองสนใจ มี 3 ขั้น  1. ขั้นทบทวนความรู้และเลือกหัวข้อเรื่องที่สนใจ
              2. เด็กค้นคว้าหาความรู้(กำหนดแหล่งเรียนรู้ใกล้ตัวเด็ก) ครูคอยกระตุ้นเด็กให้สังเกต
              3. ขั้นทบทวนความรู้ คือประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม

ขอบเขต   เด็กชาย  หญิง  อายุ 5-6 ปี อนุบาล2 โรงเรียนหงส์ประภาสประสิทธิ์ จำนวน 20 คน

ตัวแปรต้น       การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
ตัวแปรตาม     ความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย

เครื่องมือ  1.แผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
                  2. แบบทดสอบความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย อย่างละ10ข้อ ได้แก่                    ต้นไม้  สัตว์  น้ำ  อากาศ  หาค่าความเชื่อมั่นโดย  KR-20 คูเดอร์-ริชาร์ดสัน

วิธีการ   แผนเรื่องต้นไม้ การสอน 2สัปดาห์

1. ทดสอบความรู้ในการอนุรักษ์ ด้วยชุดทดสอบ  
    
        สัปดาห์ที่ 1  

        จันทร์          
กำหนดหัวข้อ  ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อมรอบตัวสนทนาเรื่อง สิ่งแวดล้อม และให้เด็กเล่าประสบการณ์ของตนเอง โดยให้เด็กๆออก มาเล่าประโยชน์ของต้นไม้ในความคิด
         อังคาร          
ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในบริเวณโรงเรียน  ครูพาเด็กไปสำรวจต้นไม้ ในบริเวณโรงเรียน พร้อมใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กสังเกต
          พุธ               
ศึกษาการเจริญเติบโต   พาเด็กเดินดูต้นไม้พร้อมทั้งใช้คำถามกระตุ้นการสังเกตลักษณะของต้นไม้ แล้วให้ไปเดินดูเป็นกลุ่มแล้วกลับมาเล่า  สิ่งที่พบเห็น
         พฤหัสบดี     
 ศึกษาชื่อต้นไม้  ครูแบ่งกลุ่มให้เด็กๆ สำรวจต้นไม้ชนิดต่างๆ จากนั้นให้เด็กวาดภาพสิ่งที่ศึกษาและนำมาเล่าให้เพื่อนๆฟัง
          ศุกร์             
ศึกษาต้นไม้เป็นที่อยู่ของสัตว์  ครูพาเดินดูต้นไม้ จากนั้นให้เด็กๆวาดรูปต้นไม้ที่มีสัตว์อาศัยอยู่และอธิบายว่าทำไมสัตว์ถึงมาอยู่บนต้นไม้ต้นนี้

          สัปดาห์ที่ 2 

          จันทร์            
ปลูกต้นไม้  สนทนาเรื่องที่เรียนในอาทิตย์ที่แล้ว จากนั้น ให้เด็กๆรวมต้นคุณนายตื่นสายที่มาจากที่บ้าน ไปขุดดินปลูกร่วมกัน จากนั้นกำหนดให้ช่วยกันดูแลต้นไม้
           อังคาร            
พืชเป็นอาหารของคนและสัตว์ ให้เด็กๆศึกษาผักกาด คะน้า ข่าตะไคร้ พร้อมถามว่า เด็กๆเคยกินหรือไม่ มีประโยชน์อย่างไร จากนั้น  พากันไปปลูกผักสวนครัวที่หลังโรงเรียน
           พุธ                 
 ร่วมกันคิดทำกิจกรรมผลงาน ฟังนิทานเรื่องเสียงจากต้นไม้ และให้เด็กๆคิดกิจกรรมที่อยากทำ และเลือกวิธีการสร้างผลงานอย่างอิสระ ครูจึงแจกกระดาษและสี วาดภาพต้นไม้ที่ปลูกร่วมกัน เป็นงานกลุ่ม
           พฤหัสบดี       
ลงมือปฏิบัติเพื่อทำผลงาน  เด็กๆแบ่งปันกันดูผลงานของกลุ่มอื่นและช่วยกันลงไปรดน้ำต้นไม้
            ศุกร์               
นำเสนอผลงานและทบทวนความรู้  ครูและเด็กร่วมกันสร้างเนื้อเรื่องนิทาน และให้เด็กนำเสนอผลงาน
      
2.  ทำการทดสอบด้วยแบบทดสอบชุดเดียวกับที่ทำก่อนการทดลอง
3.  นำไปหาค่าทางสถิติ

สรุปผล    เด็กๆมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย จาก.584  ไปถึง.764 มีความรู้                    โดยรวม ร้อยละ 79

สรุป บทความ

สรุป บทความ

ฝึกทักษะสังเกต…นำลูกสู่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์


ธรรมชาติของเด็กๆ นั้น มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งรอบตัวตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด หากเด็กได้รับการพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับธรรมชาติของเขา จะทำให้ศักยภาพในการเรียนรู้ของเขาพัฒนาได้เต็มที่ ทักษะการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์นับเป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กๆ สามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเขา

ส่งเสริมทักษะการสังเกตผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า

* ฝึกสังเกตด้วย ตา
ในการสังเกตโดยใช้ “ตา” นั้น คุณพ่อคุณแม่ควรแนะให้ลูกรู้จักสังเกตลักษณะของสิ่งต่างๆ สังเกตความเหมือน ความต่าง รู้จักจำแนก และจัดประเภท จะช่วยให้เด็กมี นิสัยในการมองสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างละเอียดรอบคอบ โดยเริ่มจากการชี้ให้เด็กดูสิ่งที่เขาเห็นอยู่ทุกวัน เช่น ต้นไม้บริเวณบ้าน ลองเก็บใบไม้ต่าง ๆ ที่หล่นอยู่บนพื้นมาให้ลูกดู ให้เขาสังเกตสีของใบไม้ต่าง ๆ ที่มีทั้งสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีน้ำตาล ฯลฯ รวมทั้งมีรูปร่างลักษณะที่ทั้งคล้ายกันและต่างกัน 
             

          
* ฝึกสังเกตด้วย หู
คุณพ่อคุณแม่ทราบมั้ยว่าเด็กเล็กๆ ที่มีความสามารถในการจำแนกเสียงต่างๆ ที่ได้ยินนั้น จะมีพื้นฐานที่ดีในการเรียนรู้ภาษา ทั้งยังช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งที่อยู่รอบตัวเขาด้วย เราอาจใช้วิธีอัดเสียงที่เด็กคุ้นหู เช่น เสียงสัตว์ต่าง ๆ เสียงนก เสียงแมลง จิ้งหรีด จักจั่น เสียงน้ำไหล เสียงดนตรีชนิดต่าง ฯลฯ แล้วเปิดให้เด็กทายว่าเป็นเสียงอะไร ให้เด็กหัดสังเกตความแตกต่างของเสียงเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเชื่อมโยงไปสู่การสอนเขาเกี่ยวกับลักษณะของแหล่งเสียงต่างๆ นั้นได้

            

* ฝึกสังเกตด้วย จมูก

การใช้จมูกดมกลิ่นเพื่อฝึกการสังเกตนั้น ควรให้ลูกได้ดมสิ่งที่มีกลิ่นเหมือนและต่างกัน เพื่อให้เขารู้จักจำแนกได้ละเอียดขึ้น การฝึกลูกในขั้นแรก คือปิดตาลูกแล้วให้ดมกลิ่นสิ่งต่างๆ แล้วบอกว่าเป็นกลิ่นอะไร กลิ่นที่นำมาให้ลูกดมควรเป็นสิ่งที่เขาคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน เช่น แป้ง สบู่ ผลไม้ ส้ม ดอกไม้ หัวหอม กระเทียม กะเพราะ ฯลฯ


* ฝึกสังเกตด้วย ลิ้น

การใช้ลิ้นชิมรสอาหารต่าง ๆ เป็นกิจกรรมที่เด็กสนุกสนานเพราะสอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กที่ชอบชิม แทะสิ่งต่าง ๆ อยู่แล้ว การให้เด็กได้ชิมรสต่าง ๆ นี้ก็เพื่อให้รู้จักความแตกต่างของรสชาติ และรู้จักลักษณะของสิ่งที่นำมาใช้เป็นอาหารดียิ่งขึ้น ในการจัดกิจกรรมนั้น คุณพ่อคุณแม่นำอาหารชิ้นเล็ก ๆ หลายๆ อย่างใส่ถาดให้ลูกปิดตาแล้วพ่อแม่ใส่ปากให้ชิมและตอบว่า กำลังชิมอะไร รสเป็นอย่างไร เช่น น้ำตาล-หวาน เกลือ-เค็ม วุ้น-หวาน ส้ม-เปรี้ยว มะนาว-เปรี้ยว ขนมชั้น-หวาน มะระ-ขม เป็นต้น


* ฝึกสังเกตด้วย ผิวหนัง

การเรียนรู้ด้วยการใช้มือสัมผัส แตะ หรือเอาสิ่งของต่าง ๆ มาสัมผัสผิวหนัง ช่วยให้เด็กได้ เรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัตถุต่าง ๆ และเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่อาจนำวัตถุต่างๆ ใส่ถุง ให้ลูกปิดตาจับของในถุงนั้น แล้วให้บอกว่าสิ่งที่จับมีลักษณะอย่างไร เช่น นุ่ม แข็ง หยาบ เรียบ ขรุขระ เย็น อุ่น บาง หนา ฯลฯ โดยสิ่งของที่นำมาใส่ในถุงควรมีพื้นผิวแตกต่างกัน เช่น ผ้าเนื้อต่าง ๆ กระดาษ หยาบ ฟองน้ำ ไม้ ขนนก เหรียญ ฯลฯ นอกจากเด็กจะได้ฝึกใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งของเหล่านี้แล้ว ยังได้เรียนรู้ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันของวัตถุแต่ละชนิดอีกด้วย

สรุป โทรทัศน์ครู เรื่องทะเลฟองสีรุ้ง

สรุป โทรทัศน์ครู 
 
เรื่องทะเลฟองสีรุ้ง
 
 
 
       การเกิดฟอง ของการนำน้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจานมาผสมกับน้ำ เกิดได้เพราะการทำปฎิกิริยาของสารเคมีทำให้เกิดฟอง ส่วนที่เราสามารถเห็นเป็นสีนั้น เพราะการตกกระทบของแสงทำให้เกิดการหักเหมาสู่สายตาเราทำให้เกิดสีต่างๆได้

วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2557 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
 
ความรู้ที่ได้รับ
         วันนี้เป็นการเรียนการสอนวันสุดท้าย เหลือเพื่อนที่ต้องนำเสนอวิจัยอีก 1 คน ชื่่อวิจัย การส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย (The promotion of science and the conclusion for children) เสร็จจากการนำเสนอวิจัยแล้ว อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อทำแผ่นพับเพื่อการประชาสัมพันธ์ชี้แจงการสอน

รายละเอียดแผ่นพับ

- หน้าปก
- เกมเกี่ยวกับหน่วยที่สอน
- ข่าวประชาสัมพันธ์ และสาระการเรียนรู้ต่างๆ

การนำไปประยุกต์ใช้

 
- สามารถวิธีการทำแผ่นพับที่ถูกต้อง ไปปรับใช้ได้ในอนาคต
- สามารถนำเนื้อหาที่น่าสนใจ และเกมทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ เข้าไปแทรกได้
- สามารถนำไปเป็นสื่อประกอบการประชาสัมพันธ์ในงานต่างๆ ได้ดี

การประเมินผล

ตนเอง       ตั้งใจทำแผ่นพับ ช่วยเพื่อนคิดเกมและรายละเอียดลงในแผ่นพับ
เพื่อน        เพื่อนๆ ตั้งใจกันทำแผ่นพับ และมีความสุขในการทำกิจกรรมในห้องเรียน
อาจารย์    พูดเสริมและคอยต่อยอดเพื่อให้เนื้อหาในแผ่นพับออกมาสมบูรณ์ที่สุดค่ะ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2557 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
 
 
ความรู้ที่ได้รับ
 
วันนี้เพื่อนมีการนำเสนองานวิจัยและโทรทัศน์ครู ดังนี้
วิจัยที่นำเสนอ
1) การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2) ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของ
เด็กปฐมวัย
3) การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
4) ผลของกิจกรรมการทดลองที่มีต่อทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการจำแนกของ
เด็กปฐมวัย
โทรครูที่นำเสนอ
1) จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอนเสียงมาจากไหน
2) สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
3) เรียนวิทยาศาสตร์สนุก
4) กิจกรรมเรือสะเทินน้ำ สะเทินบก
5) สัปดาห์วิทยาศาสตร์
6) ขวดปั๊มและลิปเทียน
7) สื่อแสงแสนสนุก
8) วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตอนพลังจิตคิดไม่ซื่อ
9) ทะเลฟองสีรุ้ง
10) สาดสีสุดสนุก
11) ทอนาโดมหาภัย
12) ไข่ไก่ในน้ำ
13) ความลับของใบบัว
 
 
โทรทัศน์ครูที่ดิฉันนำเสนอคือเรื่อง  ทะเลฟองสีรุ้ง
 
โดยการนำน้ำสบู่มาใส่ภาชนะใสๆแล้วนำหลอดมาเป่าทำให้เกิดฟอง ที่ออกมาเป็นสีรุ้ง ซึ่งการที่เรามองเห็นสีเป็นสีรุ้งนั้นคือการ หักเหของแสง  ทำให้เรามาองเห็นสีต่างๆค่ะ
     
การนำไปประยุกต์ใช้

- สามารถนำวิจัยที่เพื่อนนำเสนอไปปรับใช้ในงานของตนเองได้
- นำเทคนิคที่อาจารย์แนะนำไปปรับใช้ได้ในอนาคต
- การทำงานวิจัยนั้น ทำเพื่อให้รู้ถึงปัญหาและสามารถแก้ปัญหาของเด็กได้

การประเมินผล

ตนเอง      ตั้งใจฟังเพื่อนๆ นำเสนองานวิจัย และจดบันทึกรายละเอียดงานวิจัยของเพื่อนๆ
เพื่อน        ตั้งใจฟังเพื่อนๆ คนอื่นนำเสนองานวิจัย และช่วยกันตอบคำถามได้
อาจารย์     ติชมและต่อยอดงานวิจัยและโทรทัศน์ครูที่เพื่อนนำมาเสนอเพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
 
 
หมายเหตุ วันนี้ดิฉันไม่สามารถมาเรียนได้ จึงนำข้อมูลมาจาก นางสาวนิลาวัลย์  ตระกูลเจริญ
 
ความรู้ที่ได้รับ

        วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคน นำของเล่นที่ตนเองประดิษฐ์มาส่งหน้าห้องพร้อมบอกว่าของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไรค่ะ



ภาพของเล่นทางวิทยาศาสตร์ของเพื่อนๆ ค่ะ

พอเสร็จจากการส่งของเล่นทางวิทยาศาสตร์แล้ว อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 8 คน จากนั้นอาจารย์ให้ตัวแทนกลุ่มไปหยิบอุปกรณ์การทำวอฟเฟิลมากลุ่มละ 1 ชุด ค่ะ

อุปกรณ์การทำวอฟเฟิล
 
1) แป้ง (Flour)

2) เนย (Butter)

3) ไข่ไก่ (Egg)

4) ถ้วย (Cup)

5) จาน (Stove)

6) ช้อน (Spoon)

7) ที่ตีไข่ (Whisk)

8) เครื่องทำวอฟเฟิล

ภาพอุปกรณ์





วิธีทำวอฟเฟิล

1) นำแป้งสำหรับทำวอฟเฟิล ไข่ไก่ และนำ ผสมลงไปในถ้วยจากนั้นตีให้เข้ากัน

2) ใส่เนยลงไปเสร็จแล้วตีให้เข้ากัน

3) เมื่อส่วนผสมเข้ากันดีแล้ว ตักแบ่งใส่ถ้วยเล็ก

4) จากนั้นรอเครื่องทำวอฟเฟิลร้อน ทาเนยลงไปที่เครื่องแล้วเทวอฟเฟิลที่แบ่งใส่ถ้วยเล็กลงไป

5) รอจนไฟจากสีแดงเปลี่ยนเป็นสีเขียว นั้นหมายถึงวอฟเฟิลสุขเข้าที่แล้ว

6) นำวอฟเฟิลขึ้นมาใส่จาน พร้อมรับประทาน


การนำไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำการทำวอฟเฟิลไปใช้สอนในอนาคตได้
- สามารถนำเครื่องมือต่างๆ ของการทำวอฟเฟิลไปแนะนำให้เด็กๆ รู้ได้ในอนาคต
การประเมินผล
ตนเอง      หาข้อมูลจากเพื่อน เพื่อนำมาศึกษา
เพื่อน        สนใจและมีความตั้งใจกันทำกิจกรรม มีความสุขและยิ้มแย้มในการทำกิจกรรม
อาจารย์     คอยแนะนำและวิธีการทำระหว่างการทำกิจกรรม

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 13 พฤศจิกายน  2557 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้ได้มีการนำเสนองานวิจัย เพื่อนๆ ออกมานำเสนองานวิจัยของตนเอง ทั้งหมด 7 คน ดังนี้

วิจัยที่ 1 การส่งเสริมทักษะการสังเกตโดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษาของนักเรียนระดับอนุบาล 1/3
วิจัยที่ 2 ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
วิจัยที่ 3 การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
วิจัยที่ 4 ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
วิจัยที่ 5 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ
วิจัยที่ 6 การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
วิจัยที่ 7 การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

การนำไปประยุกต์ใช้

- สามารถนำวิจัยที่เพื่อนนำเสนอไปปรับใช้ในงานของตนเองได้
- สามารถนำเครื่องมือต่างๆ ของงานวิจัยไปใช้สอนกับเด็กได้
- การทำงานวิจัยนั้น ทำเพื่อให้รู้ถึงปัญหาและสามารถแก้ปัญหาของเด็กได้


การประเมินผล

ตนเอง      ตั้งใจฟังเพื่อนๆ นำเสนองานวิจัย และจดบันทึกรายละเอียดงานวิจัยของเพื่อนๆ

เพื่อน         ตั้งใจฟังเพื่อนๆ คนอื่นนำเสนองานวิจัย และช่วยกันตอบคำถามได้

อาจารย์     ติชมและต่อยอดงานวิจัยที่เพื่อนนำมาเสนอเพื่อให้งานวิจัยออกมาสมบูรณ์