วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 11 กันยายน 2557 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
 
 
ความรู้ที่ได้รับ
 
ความหมายของวิทยาศาสตร์
           การศึกษาสืบค้นและจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยวิธีการทักษะกระบวนการและเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบแบบแผนมีขอบเขตโดยอาศัยการสังเกต การทดลองเพื่อค้นหาความเป็นจริงและทำให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
คุณลักษณะตามวัย > พัฒนาการ > สมอง
ธรรมชาติของเด็ก คือ เด็กจะสนใจสิ่งรอบตัว
มาตราฐาน คือ เกณฑ์ขั้นต่ำ
ครูไม่ควรสอนเนื้อหามาก ควรสอนแบบเรียนรู้ตามธรรมชาติ การเล่น คือ การเรียนรู้
เกณฑ์ในการจำแนก
- รูปร่าง
- ขนาด
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
- การเปลี่ยนแปลง
- ความแตกต่าง
การปรับตัว
ความรู้ใหม่ > ความรู้เดิม = ความรู้ใหม่
 
การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
- ขั้นกำหนดปัญหา
- ขั้นตั้งสมมติฐาน
- ขั้นรวบรวมข้อมูล
- ขั้นลงข้อสรุปการ
 
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
- ความอยากรู้อยากเห็น
- ความเพียรพยายาม
- ความมีเหตุผล
- ความซื่อสัตย์
- ความมีระเบียบรอบคอบ
- ความใจกว้าง
 
ความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
- ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
  ตอบสนองความต้องการตามวัยของเด็ก
  พัฒนาทักษะทางกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
   เสริมสร้างประสบการณ์
 
- ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
  พัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐาน
  พัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
  สร้างความเชื่อมั่นใจตนเอง
 บทความของเพื่อนที่นำเสนอ
 

การนำไปประยุกต์ใช้
-สามารถจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่เป็นขั้นตอนให้แก่เด็กได้
-นำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนได้ค่ะ

วิธีการสอน
- อาจารย์ใช้คำถาม คำตอบในการสอน

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 4 กันยายน  2557 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย
- เด็กแรกเกิด - 2 ปี เด็กใช้ขั้นการรับรู้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เรียกว่าการรับรู้
- การรับรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
- การเล่น คือ วิธีการที่ทำให้เด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

เครื่องมือ
- ประสาทสัมผัสทั้ง 5
- การเล่น
- พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
- การเรียนรู้

ทฤษฏีของ กีเซล
 
พัฒนาการทางด้านร่างกาย
- สุขภาพอนามัย
- ประสาทสัมผัสระหว่างกล้ามเนื้อ
 พัฒนาการทางด้านอารมณ์
- แสดงออกทางความรู้สึก
- การรับรู้ความรู้สึก
 พัฒนาการทางด้านสังคม
- ช่วยเหลือตนเอง
- การอยู่รวมกัน
 พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
- ภาษา
- คิด
- คิดเชิงสร้างสรรค์
- คิดเชิงเหตุผล

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย (3 - 5 ปี)
- ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้รับคำชม
- ช่วยเหลือตนเองได้
- ชอบเดินทางแบบคู่ขนาน
- พูดประโยคยาวขึ้น
- ร้องเพลงง่ายๆ และท่าทางเลียนแบบ
- ชอบถาม "ทำไม" ตลอดเวลา
 
Pavlov (การทดลอง)
- การวางเงื่อนไข
Skinner (การเสริมแรง)
Froebel (เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น)
Dowey (เรียนรู้โดยการกระทำ)
Pestalozzi (ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญของเด็ก)
 
พัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
- การเรียนรู้อย่างมีความสุข
- การเรียนรู้แบบองค์รวมที่ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน
- การเรียนรู้จากการคิดและปฎิบัติจริง
Watson
- ความรู้สึกบางอย่างนั้นมาตั้งแต่กำเนิด เช่น ความรัก ความโกรธ
David Elkind
- เด็กมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมอย่างเสรี
 
หมายเหตุ
วันนี้ดิฉันได้ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนเกษมพิทยา ของอาจารย์กรรณิการ์ จึงไม่สามารถมาเรียนได้ค่ะ


อ้างอิงข้อมูล
นางสาวธนภรณ์ คงมนัส http://oilthanaporn11.blogspot.com/

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 28 สิงหาคม 2557 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
 
 
ความรู้ที่ได้รับ
 
          วันนี้อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับความหมายของเด็กปฐมวัยและวิทยาศาสตร์
เด็กปฐมวัย คือ  เด็กที่มีอายุแรกเกิดถึง 6 ปี  11 เดือน  29 วัน 
 
1 พฤติกรรม
2 การเรียนรู้จากการเล่น
3 การอบรมเลี้ยงดู
 
พัฒนาการด้านสติปัญา
1 การคิดเชิงเหตุผล
2 การคิดสร้างสรรค์
 
เครื่องมือการเรียนรู้ของเด็กคือ  การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
 
 
วิทยาศาสตร์
 
 - คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้ และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัว และตัวตนของตนเอง
 - ความพยายามเช่นนี่ติดตัวของมนุษย์มาตั้งแต่เกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็ก ที่มีความอยากรู้อยากเห็นช่างสังเกต และคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่วกเขาเจอและบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ
 - การทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเองโดยการสังเกตและคอยวักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอช่วยเชื่อมโยงเซลล์ของสมองของเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กๆ เพราะส่งเสริมให้เด็กได้คิดเป็นการเตรียมเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้มาก ขึ้นในวัยที่สูงขึ้น
 
ทบทวนบทบาท

-เปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาดดยการให้ความสนใจกับคำถาม
-ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็กๆ
-ครูและผู้ปกครองต้องยอมรับในเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในวัยนี้

 
 
การนำไปประยุกต์ใช้
 
-สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้
-สามารถจัดการเรียนให้ตรงกับความสนใจของเด็ก
 
วิธีการสอน
 
-อาจารย์ใช้ Power  piont เป็นสื่อในการสอน
-อาจารย์ใช้ การถาม-ตอบ ในการสอน