วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปวิจัย

การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย
ปริญญานิพนธ์
ของ  มยุรี  ศรีทอง

มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ


จุดมุ่งหมาย  เพื่อเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังในการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย

คำศัพท์  เด็กนักวิจัย แปลว่า เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ เรียนรู้เรื่องที่ตนเองสนใจ มี 3 ขั้น  1. ขั้นทบทวนความรู้และเลือกหัวข้อเรื่องที่สนใจ
              2. เด็กค้นคว้าหาความรู้(กำหนดแหล่งเรียนรู้ใกล้ตัวเด็ก) ครูคอยกระตุ้นเด็กให้สังเกต
              3. ขั้นทบทวนความรู้ คือประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม

ขอบเขต   เด็กชาย  หญิง  อายุ 5-6 ปี อนุบาล2 โรงเรียนหงส์ประภาสประสิทธิ์ จำนวน 20 คน

ตัวแปรต้น       การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
ตัวแปรตาม     ความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย

เครื่องมือ  1.แผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
                  2. แบบทดสอบความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย อย่างละ10ข้อ ได้แก่                    ต้นไม้  สัตว์  น้ำ  อากาศ  หาค่าความเชื่อมั่นโดย  KR-20 คูเดอร์-ริชาร์ดสัน

วิธีการ   แผนเรื่องต้นไม้ การสอน 2สัปดาห์

1. ทดสอบความรู้ในการอนุรักษ์ ด้วยชุดทดสอบ  
    
        สัปดาห์ที่ 1  

        จันทร์          
กำหนดหัวข้อ  ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อมรอบตัวสนทนาเรื่อง สิ่งแวดล้อม และให้เด็กเล่าประสบการณ์ของตนเอง โดยให้เด็กๆออก มาเล่าประโยชน์ของต้นไม้ในความคิด
         อังคาร          
ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในบริเวณโรงเรียน  ครูพาเด็กไปสำรวจต้นไม้ ในบริเวณโรงเรียน พร้อมใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กสังเกต
          พุธ               
ศึกษาการเจริญเติบโต   พาเด็กเดินดูต้นไม้พร้อมทั้งใช้คำถามกระตุ้นการสังเกตลักษณะของต้นไม้ แล้วให้ไปเดินดูเป็นกลุ่มแล้วกลับมาเล่า  สิ่งที่พบเห็น
         พฤหัสบดี     
 ศึกษาชื่อต้นไม้  ครูแบ่งกลุ่มให้เด็กๆ สำรวจต้นไม้ชนิดต่างๆ จากนั้นให้เด็กวาดภาพสิ่งที่ศึกษาและนำมาเล่าให้เพื่อนๆฟัง
          ศุกร์             
ศึกษาต้นไม้เป็นที่อยู่ของสัตว์  ครูพาเดินดูต้นไม้ จากนั้นให้เด็กๆวาดรูปต้นไม้ที่มีสัตว์อาศัยอยู่และอธิบายว่าทำไมสัตว์ถึงมาอยู่บนต้นไม้ต้นนี้

          สัปดาห์ที่ 2 

          จันทร์            
ปลูกต้นไม้  สนทนาเรื่องที่เรียนในอาทิตย์ที่แล้ว จากนั้น ให้เด็กๆรวมต้นคุณนายตื่นสายที่มาจากที่บ้าน ไปขุดดินปลูกร่วมกัน จากนั้นกำหนดให้ช่วยกันดูแลต้นไม้
           อังคาร            
พืชเป็นอาหารของคนและสัตว์ ให้เด็กๆศึกษาผักกาด คะน้า ข่าตะไคร้ พร้อมถามว่า เด็กๆเคยกินหรือไม่ มีประโยชน์อย่างไร จากนั้น  พากันไปปลูกผักสวนครัวที่หลังโรงเรียน
           พุธ                 
 ร่วมกันคิดทำกิจกรรมผลงาน ฟังนิทานเรื่องเสียงจากต้นไม้ และให้เด็กๆคิดกิจกรรมที่อยากทำ และเลือกวิธีการสร้างผลงานอย่างอิสระ ครูจึงแจกกระดาษและสี วาดภาพต้นไม้ที่ปลูกร่วมกัน เป็นงานกลุ่ม
           พฤหัสบดี       
ลงมือปฏิบัติเพื่อทำผลงาน  เด็กๆแบ่งปันกันดูผลงานของกลุ่มอื่นและช่วยกันลงไปรดน้ำต้นไม้
            ศุกร์               
นำเสนอผลงานและทบทวนความรู้  ครูและเด็กร่วมกันสร้างเนื้อเรื่องนิทาน และให้เด็กนำเสนอผลงาน
      
2.  ทำการทดสอบด้วยแบบทดสอบชุดเดียวกับที่ทำก่อนการทดลอง
3.  นำไปหาค่าทางสถิติ

สรุปผล    เด็กๆมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย จาก.584  ไปถึง.764 มีความรู้                    โดยรวม ร้อยละ 79

สรุป บทความ

สรุป บทความ

ฝึกทักษะสังเกต…นำลูกสู่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์


ธรรมชาติของเด็กๆ นั้น มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งรอบตัวตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด หากเด็กได้รับการพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับธรรมชาติของเขา จะทำให้ศักยภาพในการเรียนรู้ของเขาพัฒนาได้เต็มที่ ทักษะการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์นับเป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กๆ สามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเขา

ส่งเสริมทักษะการสังเกตผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า

* ฝึกสังเกตด้วย ตา
ในการสังเกตโดยใช้ “ตา” นั้น คุณพ่อคุณแม่ควรแนะให้ลูกรู้จักสังเกตลักษณะของสิ่งต่างๆ สังเกตความเหมือน ความต่าง รู้จักจำแนก และจัดประเภท จะช่วยให้เด็กมี นิสัยในการมองสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างละเอียดรอบคอบ โดยเริ่มจากการชี้ให้เด็กดูสิ่งที่เขาเห็นอยู่ทุกวัน เช่น ต้นไม้บริเวณบ้าน ลองเก็บใบไม้ต่าง ๆ ที่หล่นอยู่บนพื้นมาให้ลูกดู ให้เขาสังเกตสีของใบไม้ต่าง ๆ ที่มีทั้งสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีน้ำตาล ฯลฯ รวมทั้งมีรูปร่างลักษณะที่ทั้งคล้ายกันและต่างกัน 
             

          
* ฝึกสังเกตด้วย หู
คุณพ่อคุณแม่ทราบมั้ยว่าเด็กเล็กๆ ที่มีความสามารถในการจำแนกเสียงต่างๆ ที่ได้ยินนั้น จะมีพื้นฐานที่ดีในการเรียนรู้ภาษา ทั้งยังช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งที่อยู่รอบตัวเขาด้วย เราอาจใช้วิธีอัดเสียงที่เด็กคุ้นหู เช่น เสียงสัตว์ต่าง ๆ เสียงนก เสียงแมลง จิ้งหรีด จักจั่น เสียงน้ำไหล เสียงดนตรีชนิดต่าง ฯลฯ แล้วเปิดให้เด็กทายว่าเป็นเสียงอะไร ให้เด็กหัดสังเกตความแตกต่างของเสียงเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเชื่อมโยงไปสู่การสอนเขาเกี่ยวกับลักษณะของแหล่งเสียงต่างๆ นั้นได้

            

* ฝึกสังเกตด้วย จมูก

การใช้จมูกดมกลิ่นเพื่อฝึกการสังเกตนั้น ควรให้ลูกได้ดมสิ่งที่มีกลิ่นเหมือนและต่างกัน เพื่อให้เขารู้จักจำแนกได้ละเอียดขึ้น การฝึกลูกในขั้นแรก คือปิดตาลูกแล้วให้ดมกลิ่นสิ่งต่างๆ แล้วบอกว่าเป็นกลิ่นอะไร กลิ่นที่นำมาให้ลูกดมควรเป็นสิ่งที่เขาคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน เช่น แป้ง สบู่ ผลไม้ ส้ม ดอกไม้ หัวหอม กระเทียม กะเพราะ ฯลฯ


* ฝึกสังเกตด้วย ลิ้น

การใช้ลิ้นชิมรสอาหารต่าง ๆ เป็นกิจกรรมที่เด็กสนุกสนานเพราะสอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กที่ชอบชิม แทะสิ่งต่าง ๆ อยู่แล้ว การให้เด็กได้ชิมรสต่าง ๆ นี้ก็เพื่อให้รู้จักความแตกต่างของรสชาติ และรู้จักลักษณะของสิ่งที่นำมาใช้เป็นอาหารดียิ่งขึ้น ในการจัดกิจกรรมนั้น คุณพ่อคุณแม่นำอาหารชิ้นเล็ก ๆ หลายๆ อย่างใส่ถาดให้ลูกปิดตาแล้วพ่อแม่ใส่ปากให้ชิมและตอบว่า กำลังชิมอะไร รสเป็นอย่างไร เช่น น้ำตาล-หวาน เกลือ-เค็ม วุ้น-หวาน ส้ม-เปรี้ยว มะนาว-เปรี้ยว ขนมชั้น-หวาน มะระ-ขม เป็นต้น


* ฝึกสังเกตด้วย ผิวหนัง

การเรียนรู้ด้วยการใช้มือสัมผัส แตะ หรือเอาสิ่งของต่าง ๆ มาสัมผัสผิวหนัง ช่วยให้เด็กได้ เรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัตถุต่าง ๆ และเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่อาจนำวัตถุต่างๆ ใส่ถุง ให้ลูกปิดตาจับของในถุงนั้น แล้วให้บอกว่าสิ่งที่จับมีลักษณะอย่างไร เช่น นุ่ม แข็ง หยาบ เรียบ ขรุขระ เย็น อุ่น บาง หนา ฯลฯ โดยสิ่งของที่นำมาใส่ในถุงควรมีพื้นผิวแตกต่างกัน เช่น ผ้าเนื้อต่าง ๆ กระดาษ หยาบ ฟองน้ำ ไม้ ขนนก เหรียญ ฯลฯ นอกจากเด็กจะได้ฝึกใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งของเหล่านี้แล้ว ยังได้เรียนรู้ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันของวัตถุแต่ละชนิดอีกด้วย

สรุป โทรทัศน์ครู เรื่องทะเลฟองสีรุ้ง

สรุป โทรทัศน์ครู 
 
เรื่องทะเลฟองสีรุ้ง
 
 
 
       การเกิดฟอง ของการนำน้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจานมาผสมกับน้ำ เกิดได้เพราะการทำปฎิกิริยาของสารเคมีทำให้เกิดฟอง ส่วนที่เราสามารถเห็นเป็นสีนั้น เพราะการตกกระทบของแสงทำให้เกิดการหักเหมาสู่สายตาเราทำให้เกิดสีต่างๆได้