วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2557 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
 
ความรู้ที่ได้รับ
         วันนี้เป็นการเรียนการสอนวันสุดท้าย เหลือเพื่อนที่ต้องนำเสนอวิจัยอีก 1 คน ชื่่อวิจัย การส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย (The promotion of science and the conclusion for children) เสร็จจากการนำเสนอวิจัยแล้ว อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อทำแผ่นพับเพื่อการประชาสัมพันธ์ชี้แจงการสอน

รายละเอียดแผ่นพับ

- หน้าปก
- เกมเกี่ยวกับหน่วยที่สอน
- ข่าวประชาสัมพันธ์ และสาระการเรียนรู้ต่างๆ

การนำไปประยุกต์ใช้

 
- สามารถวิธีการทำแผ่นพับที่ถูกต้อง ไปปรับใช้ได้ในอนาคต
- สามารถนำเนื้อหาที่น่าสนใจ และเกมทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ เข้าไปแทรกได้
- สามารถนำไปเป็นสื่อประกอบการประชาสัมพันธ์ในงานต่างๆ ได้ดี

การประเมินผล

ตนเอง       ตั้งใจทำแผ่นพับ ช่วยเพื่อนคิดเกมและรายละเอียดลงในแผ่นพับ
เพื่อน        เพื่อนๆ ตั้งใจกันทำแผ่นพับ และมีความสุขในการทำกิจกรรมในห้องเรียน
อาจารย์    พูดเสริมและคอยต่อยอดเพื่อให้เนื้อหาในแผ่นพับออกมาสมบูรณ์ที่สุดค่ะ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2557 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
 
 
ความรู้ที่ได้รับ
 
วันนี้เพื่อนมีการนำเสนองานวิจัยและโทรทัศน์ครู ดังนี้
วิจัยที่นำเสนอ
1) การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2) ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของ
เด็กปฐมวัย
3) การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
4) ผลของกิจกรรมการทดลองที่มีต่อทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการจำแนกของ
เด็กปฐมวัย
โทรครูที่นำเสนอ
1) จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอนเสียงมาจากไหน
2) สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
3) เรียนวิทยาศาสตร์สนุก
4) กิจกรรมเรือสะเทินน้ำ สะเทินบก
5) สัปดาห์วิทยาศาสตร์
6) ขวดปั๊มและลิปเทียน
7) สื่อแสงแสนสนุก
8) วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตอนพลังจิตคิดไม่ซื่อ
9) ทะเลฟองสีรุ้ง
10) สาดสีสุดสนุก
11) ทอนาโดมหาภัย
12) ไข่ไก่ในน้ำ
13) ความลับของใบบัว
 
 
โทรทัศน์ครูที่ดิฉันนำเสนอคือเรื่อง  ทะเลฟองสีรุ้ง
 
โดยการนำน้ำสบู่มาใส่ภาชนะใสๆแล้วนำหลอดมาเป่าทำให้เกิดฟอง ที่ออกมาเป็นสีรุ้ง ซึ่งการที่เรามองเห็นสีเป็นสีรุ้งนั้นคือการ หักเหของแสง  ทำให้เรามาองเห็นสีต่างๆค่ะ
     
การนำไปประยุกต์ใช้

- สามารถนำวิจัยที่เพื่อนนำเสนอไปปรับใช้ในงานของตนเองได้
- นำเทคนิคที่อาจารย์แนะนำไปปรับใช้ได้ในอนาคต
- การทำงานวิจัยนั้น ทำเพื่อให้รู้ถึงปัญหาและสามารถแก้ปัญหาของเด็กได้

การประเมินผล

ตนเอง      ตั้งใจฟังเพื่อนๆ นำเสนองานวิจัย และจดบันทึกรายละเอียดงานวิจัยของเพื่อนๆ
เพื่อน        ตั้งใจฟังเพื่อนๆ คนอื่นนำเสนองานวิจัย และช่วยกันตอบคำถามได้
อาจารย์     ติชมและต่อยอดงานวิจัยและโทรทัศน์ครูที่เพื่อนนำมาเสนอเพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
 
 
หมายเหตุ วันนี้ดิฉันไม่สามารถมาเรียนได้ จึงนำข้อมูลมาจาก นางสาวนิลาวัลย์  ตระกูลเจริญ
 
ความรู้ที่ได้รับ

        วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคน นำของเล่นที่ตนเองประดิษฐ์มาส่งหน้าห้องพร้อมบอกว่าของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไรค่ะ



ภาพของเล่นทางวิทยาศาสตร์ของเพื่อนๆ ค่ะ

พอเสร็จจากการส่งของเล่นทางวิทยาศาสตร์แล้ว อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 8 คน จากนั้นอาจารย์ให้ตัวแทนกลุ่มไปหยิบอุปกรณ์การทำวอฟเฟิลมากลุ่มละ 1 ชุด ค่ะ

อุปกรณ์การทำวอฟเฟิล
 
1) แป้ง (Flour)

2) เนย (Butter)

3) ไข่ไก่ (Egg)

4) ถ้วย (Cup)

5) จาน (Stove)

6) ช้อน (Spoon)

7) ที่ตีไข่ (Whisk)

8) เครื่องทำวอฟเฟิล

ภาพอุปกรณ์





วิธีทำวอฟเฟิล

1) นำแป้งสำหรับทำวอฟเฟิล ไข่ไก่ และนำ ผสมลงไปในถ้วยจากนั้นตีให้เข้ากัน

2) ใส่เนยลงไปเสร็จแล้วตีให้เข้ากัน

3) เมื่อส่วนผสมเข้ากันดีแล้ว ตักแบ่งใส่ถ้วยเล็ก

4) จากนั้นรอเครื่องทำวอฟเฟิลร้อน ทาเนยลงไปที่เครื่องแล้วเทวอฟเฟิลที่แบ่งใส่ถ้วยเล็กลงไป

5) รอจนไฟจากสีแดงเปลี่ยนเป็นสีเขียว นั้นหมายถึงวอฟเฟิลสุขเข้าที่แล้ว

6) นำวอฟเฟิลขึ้นมาใส่จาน พร้อมรับประทาน


การนำไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำการทำวอฟเฟิลไปใช้สอนในอนาคตได้
- สามารถนำเครื่องมือต่างๆ ของการทำวอฟเฟิลไปแนะนำให้เด็กๆ รู้ได้ในอนาคต
การประเมินผล
ตนเอง      หาข้อมูลจากเพื่อน เพื่อนำมาศึกษา
เพื่อน        สนใจและมีความตั้งใจกันทำกิจกรรม มีความสุขและยิ้มแย้มในการทำกิจกรรม
อาจารย์     คอยแนะนำและวิธีการทำระหว่างการทำกิจกรรม

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 13 พฤศจิกายน  2557 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้ได้มีการนำเสนองานวิจัย เพื่อนๆ ออกมานำเสนองานวิจัยของตนเอง ทั้งหมด 7 คน ดังนี้

วิจัยที่ 1 การส่งเสริมทักษะการสังเกตโดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษาของนักเรียนระดับอนุบาล 1/3
วิจัยที่ 2 ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
วิจัยที่ 3 การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
วิจัยที่ 4 ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
วิจัยที่ 5 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ
วิจัยที่ 6 การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
วิจัยที่ 7 การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

การนำไปประยุกต์ใช้

- สามารถนำวิจัยที่เพื่อนนำเสนอไปปรับใช้ในงานของตนเองได้
- สามารถนำเครื่องมือต่างๆ ของงานวิจัยไปใช้สอนกับเด็กได้
- การทำงานวิจัยนั้น ทำเพื่อให้รู้ถึงปัญหาและสามารถแก้ปัญหาของเด็กได้


การประเมินผล

ตนเอง      ตั้งใจฟังเพื่อนๆ นำเสนองานวิจัย และจดบันทึกรายละเอียดงานวิจัยของเพื่อนๆ

เพื่อน         ตั้งใจฟังเพื่อนๆ คนอื่นนำเสนองานวิจัย และช่วยกันตอบคำถามได้

อาจารย์     ติชมและต่อยอดงานวิจัยที่เพื่อนนำมาเสนอเพื่อให้งานวิจัยออกมาสมบูรณ์

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 6 พฤศจิกายน  2557 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.


ความรู้ทีได้รับ

    วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผนการสอนของตนเอง โดยกลุ่มของดิฉันคือหน่วยมะพร้าว ได้นำเสนอวันที่ 4 คือ การเพาะปลูก   และเพื่อนในห้องที่ต้องออกมานำเสนอมีทั้งหมด 10 กลุ่ม ดังนี้



กลุ่มที่ 1 หน่วย กล้วย. (ชนิด)

กลุ่มที่ 2 หน่วย ไก่ (ลักษณะ)

กลุ่มที่ 3 หน่วย กบ (การดำรงชีวิต)

กลุ่มที่ 4 หน่วย ปลา (ประโยชน์และข้อพึงระวัง)

กลุ่มที่ 5 หน่วย ข้าว (การแปรรูป)

กลุ่มที่ 6 หน่วย ต้นไม้ (ชนิด)

กลุ่มที่ 7 หน่วย นม (ลักษณะ)

กลุ่มที่ 8 หน่วย น้ำ (การดูแล)

กลุ่มที่ 9 หน่วย มะพร้าว (การเพาะปลูก)

กลุ่มที่ 10 หน่วย ผลไม้ (การประกอบอาหาร)



การนำไปประยุกต์ใช้

              สามารถแผนการสอนที่มานำเสนอไปใช้ได้จริงในอนาคต และนำเทคนิคและข้อติชม ที่ได้รับไปปรับปรุงแก้ไขงาน   และนำเทคนิคการนำเสนองาน หรือการประกอบอาหารโดยใช้วัตถุดิบที่สอนเกี่ยวกับอาหารมาประกอบอาหารได้



เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์

      อาจารย์มีการแนะนำเทคนิคการนำเสนอ และคอยติชมการนำเสนอในคั้งนี้ อาจารย์ได้ให้สังเกตการสอนเพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุงข้อผิดพลาดของแต่ละกลุ่มด้วยค่ะ

การประเมินผล

ตนเอง      เรียนรู้และเทคนิควิธีการ ตั้งใจฟังอาจารย์คอยติชม การนำเสนอแผนการสอนที่ดีได้
เพื่อน         เพื่อนๆ สนใจและช่วยกันตอบคำถามแผนของเพื่อนๆ แต่ละกลุ่ม
อาจารย์      อาจารย์ให้เทคนิคในการนเสนอแผนการสอน
 


 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 23 ตุลาคม 2557 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.


* วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก เป็นวันปิยมหาราช



 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 18 ตุลาคม 2557 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.

 ความรู้ที่ได้รับ
 
        วันนี้เป็นการเรียนชดเชย ของวันที่ 23 ตุลาคม ในวันปิยมหาราช แต่มาเรียนชดเชยก่อนวันหยุด วันนี้อาจารย์สอนการเขียนแผน กลุ่มของดิฉันได้เขียนหน่อย  เรื่อง มะพร้าว ซึ่งนำแผนมาเรียบเรียงใหม่ แล้วอาจารย์จะบอกว่าถูกหรือผิด แล้วให้นำแผนกลับไปแก้ไขใหม่อีกครั้ง

เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์

- อาจารย์ใช้แผน และเทคนิคการเขียนแผนมาเป็นสื่อในการสอน



การประเมินผล

ตนเอง       เรียนรู้จากแผนการสอนของเพื่อนๆ และเทคนิคการเขียนแผนของอาจารย์

เพื่อน         เพื่อนๆ ตั้งใจกันแก้ไขแผนการสอน  และช่วยกันคิดแผนในแต่ละกลุ่ม
อาจารย์     อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมของการเขียนแผนการสอน และให้นักศึกษาทำ
                   ความเข้าใจกับแผนการสอน เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น


 
 
 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 16 ตุลาคม 2557 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ
        
           วันนี้อาจารย์ให้ทำของเล่นทางวิทยาศาสตร์ที่ประดิษฐ์มานำเสนอเพื่อนๆ ในห้องและพูดถึงหลักวิทยาศาสตร์ ที่ใช้เล่นของเล่นชิ้นที่เราเอามาและของเพื่อนๆ



ตัวอย่าง สื่อที่เพื่อนนำมาเสนอ

1. ไก่กระต๊าก > การสั่นสะเทือน

2. ขวดผิวปาก > ใช้แรงลมทำให้เกิดเสียง

3. กระป๋องโยกเยก > แรงโน้มถ่วง

4. กังหันลม > พลังงานลมทำให้เกิดการหมุนของกังหัน

5. สปิงเกอร์ > แรงดันน้ำ

6. หลอดหมุนได้ > แรงลมทำให้หลอดหมุนได้

7. ตุ๊กตาล้มลุก > จุดศูนย์ถ่วง

8. น้ำเปลี่ยนสี > กลวิทยาศาสตร์ เกิดจากการแทนที่ของน้ำทำให้น้ำที่มีอยู่ไหล

ออกมา

9. แมงกะพรุน > สิ่งของในน้ำมีความหนาแน่น มากและน้อย

10. เครื่องร่อน > แรงลม


สื่อของดิฉัน
 

น้ำเปลี่ยนสี








หลักทางวิทยาศาสตร์

เราจะเทน้ำสีเหลืองลงไปในแก้วแล้วน้ำที่ได้ออกมาจะเปลี่ยนเป็นสีฟ้า เพราะในแก้วแต่ละใบจะมีน้ำแต่ละสีอยู่ พอเราเทลงไปน้ำที่เราเทจะเข้าไปแทนที่ น้ำที่มีอยู่ในก้ว ทำให้มีแรงดันน้ำในแก้ว ให้ไหลลงตามหลอดด้วยคุณสมบัติบัตรของน้ำที่จะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ


เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
- อาจารย์ใช้สิ่งประดิษฐ์มาเป็นสื่อในการสอน

การประเมินผล

ตนเอง       ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และฟังที่เพื่อนๆ ออกมานำเสนอ
เพื่อน         เพื่อนๆ นำสิ่งประดิษฐ์มานำเสนอทุกคน ช่วยกันตอบคำถามจากเพื่อนและ
อาจารย์
อาจารย์      อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมของหลักทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละชิ้นที่เพื่อนๆ
นำมาเสนอได้อย่างชัดเจน และเข้าใจได้ง่าย

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 9 ตุลาคม 2557 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.


* วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก เป็นสัปดาห์ของการสอบกลางภาคเรียน 1/2557

ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม



 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 2 ตุลาคม  2557 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.


 ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให้ทำของเล่นทางวิทยาศาสตร์ โดยอาจารย์ให้เตรียมแกนกระดาษชิชชูมา เพื่อนำมาประดิษฐ์ในวันนี้


อุปกรณ์

- แกนกระดาษชิชชู(Tissue cores)

- กรรไกร (Scissors)

- ไหมพรม (Yam)

- กระดาษเปล่า (Peper)

- ดินสอ หรือ สี (Pencil)

- กาว (Glue)

- ตาไก่เจาะกระดาษ (The punch)



วิธีการทำ

1  นำแกนทิชชูมาตัดครึ่ง

2 แล้วใช้ตาไก่เจาะกระดาษนำมาเจาะ ทั้งสองด้านของแกนทิชชูโดยเจาะปากแกนทิชชู

3  จากนั้นใช้ไหมพรม ร้อยรูที่เจาะไว้ ทั้งสองรูแล้วมัดปมปลายไหมพรม เพื่อทำมาคล้องคอได้

4  ใช้กระดาษวาดภาพ โดยตัดกระดาษให้เท่ากับปากแกนทิชชู แล้ววาดรูปอะไรก็ได้ แล้วมามา

แปะไว้ตรงกลางแกน

5  เสร็จแล้วนำมาคล้องคอ แล้วเล่นได้เรย
 



วิธีการเล่น

นำมาคล้องที่คอ แล้วจับไหมพรมไว้ทั้งสองเส้นจากนั้นดึงขึ้นลงสลับกัน จะเห็นว่าแกนกระดาษทิชชูจะวิ่งขึ้น ถ้าเราดึงเชือกโดยอยู่ห่างกัน แล้วแกนทิชชูจะวิ่งลงเมื่อเราดึงเชือกใกล้กัน


เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์

- อาจารย์ใช้สิ่งประดิษฐ์มาเป็นสื่อในการสอน เพ่อให้นักศึกษามีความอยากเรียนค่ะ


การประเมินผล



ตนเอง        แต่งกายเรียบร้อย นำอุปกรณ์มาตามที่อาจารย์สั่ง ตั้งใจทำงาน

เพื่อน         เพื่อนๆ นำอุปกรณ์มาครบทุกคน ตั้งใจกันทำของเล่นกัน
อาจารย์      อาจารย์แจ้งให้เตรียมอุปกรณ์มา โดยแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
อาจารย์สอนเข้าใจง่าย

 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 25 กันยายน 2557 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับ

            วันนี้อาจารย์แจกกระดาษใบเล็กๆ คนละ 1 ใบ เพราะอาจารย์จะให้ทำของเล่นวิทยาศาสตร์ คือนำไปโยนแล้วมันจะร่อนลงมา


อุปกรณ์

- กรรไกร (Scissors)

- คลิปหนีบกระดาษ (Paperciip)

- กระดาษหน้าปก (Paper)


วิธีการทำ

- นำกระดาษที่ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามาพับครึ่ง

- จากนั้นใช้กรรไกรตัดกระดาษตรงกลาง ครึ่งใดครึ่งหนึ่ง โดยตัดให้ชนขอบรอยพับ

- กางกระดาษที่ตัด ออกไปทั้งสองด้านสลับกัน

- พับกระดาษส่วนที่ไม่ได้ตัด 2-3 ทบ แล้วใช้คลิปหนีบกระดาษ หนีบไว้เพื่อเป็นที่จับ



วิธีการเล่น

นำของเล่นมาโยนขึ้นท้องฟ้า จะเห็นว่าของเล่นจะตกลงมาตามรอยตัด ถ้าเราตัดลึกของเล่นก็จะอยู่บนอากาศได้นานกว่าตัดนิดเดียว  เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์แล้ว อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำ Mind map ที่แต่ละกลุ่มสรุปมา นำมาติดไว้ตามผนังห้อง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และติชม ของแต่ละกลุ่ม




เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์

- อุปกรณ์เพื่อนำมาประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์

- บทความที่เพื่อนนำมาเสนอหน้าห้อง



การประเมินผล


ตนเอง --> เนื่องจากวันนี้ดิฉันไม่สามารถมาเรียนได้ื จึงนำข้อมูลมาจาก นางสาว นิลาวัลย์ ตระกูลเจริญ
เพื่อน --> 85% เพื่อนๆ ตั้งใจกันทำของเล่น ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
อาจารย์ --> 95% อาจารย์แนะนำวิธีการประดิษฐ์และวิธีการสอน และยังให้ข้อมูลที่ชัดเจน
เข้าใจง่าย

บันทึกอนุทินคร้งที่ 5


 บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 18 กันยายน 2557 เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
 
 
 
 
ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรม โดยอาจารย์ให้ทำการประดิษฐ์ของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์  อาจารย์ได้แจกกระดาษ กรรไกร เทปกาว ไม้เสียบลูกชิ้น

 
 


 
อุปกรณ์ในการประดิษฐ์

1. กระดาษสีชมพู

2. ดินสอ ปากกา หรือ สี

3. ไม้เสียบลูกชิ้น

4. กรรไกร

5. เทปกาว

 

วิธีการทำ

1. พับกระดาษแบ่งครึ่งเท่าๆ กัน

2. วาดรูปที่ตนเองชอบ ที่มีความสัมพันธ์กัน

3. นำไม้เสียบลูกชิ้น ลูกชิ้นมาติดด้านในของกระดาษ

4. และนำเทปกาวมาติดรอบๆกระดาษให้สนิท

วิธีการเล่น

 จับที่ไม้เสียบลูกชิ้นแล้วหมุนซ้ายหรือขวาแบบเร็วๆ  แล้วเราจะเห็นภาพทั้ง 2 ด้าน มารวมกันค่ะ

 





เทคนิควิธีการสอน

- อาจารย์นำสิ่งประดิษฐ์มาเป็นสื่อในการสอน

 

การประเมินผล

 ตนเอง

ตั้งใจฟัง และทำตามที่อาจารย์สอน

 เพื่อน

ตั้งใจทำผลงานของตนเอง

อาจารย์

มีการสอนที่แปลกใหม่โดยใช้สิ่งประดิษฐ์